อัพเดตเทรนด์ AI Governance : เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การใช้งาน AI เป็นไปอย่างมีจริยธรรม

ในปัจจุบันเทคโนโลยี AI ใช้กันอย่างแพร่หลายและสร้างประโยชน์มหาศาล แต่ในขณะเดียวกัน AI ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงจากการใช้งานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะความจำเป็นในการใช้ข้อมูลจำนวนมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำของการทำงาน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อบุคคลและสังคม  จึงทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับจริยธรรมของ AI ตามมา  AI Governance เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกำกับดูแลให้การใช้งาน AI เป็นไปอย่างมีจริยธรรม มีความรับผิดชอบ และเป็นตัวช่วยในการวางรากฐานการปกป้องความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยของเจ้าของข้อมูล  การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งาน โดยมีการกำหนดความรับผิดชอบตามกรอบของ AI Governance ดังนี้

  • ไม่สร้างอคติ (Anti-Bias)  : ระบบ AI  ไม่ควรสร้างอคติ หรือเลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
  • ความโปร่งใส (Transparency)  : ระบบ AI ควรมีความโปร่งใส ผู้ใช้ควรสามารถเข้าใจการทำงานของระบบได้ รวมถึงที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการฝึกฝนและวิธีการตัดสินใจของ AI นั้น ๆ 
  • ความรับผิดชอบ (Accountability) : องค์กรต่าง ๆ ต้องกำหนดขอบเขตควมรับผิดชอบและการกำกับดูแลที่ชัดเจนสำหรับการพัฒนาและใช้งาน AI
  • ความปลอดภัย (Safety) : ระบบ AI ควรได้รับการออกแบบเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด 
  • ความเป็นส่วนตัว (Privacy) : ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ควรได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสม ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (กฎหมาย PDPA)
  • ออกแบบโดยคำนึงถึงมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human Centric Design) : องค์กรต่าง ๆ ควรประเมินผลกระทบของ AI ต่องาน ทักษะ และคุณค่าของสังคม ให้แน่ใจว่าระบบ AI สอดคล้องกับความต้องการและคุณค่าของมนุษย์
  • ผลกระทบทางสังคม (Social Impact) : การใช้ AI ควรคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมในมุมกว้าง ประเมินและลดผลกระทบเชิงลบ เช่น ปัญหาการเลิกจ้างงาน และหาวิธีเพิ่มผลกระทบเชิงบวก
  • การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Multi-Stakeholder Engagement) : การใช้ AI ต้องมีประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้าง 

จะเห็นได้ว่า AI Governance เป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยให้การใช้งานเทคโนโลยี AI เป็นไปอย่างมีจริยธรรมและปลอดภัย การกำกับดูแลที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเลือกปฏิบัติ ความลำเอียง และการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ และยังสามารถลดความเสี่ยงจากการใช้งานที่อาจส่งผลกระทบต่อสังคมและบุคคลต่างๆ ได้อีกด้วย การให้ความสำคัญกับ AI Governance จะช่วยให้มนุษย์สามารถใช้งาน AI อย่างมีจริยธรรมและเกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์สูงสุด

โดยทีมของเราจะมีการจัดอบรมรายวิชาด้าน AI Governance 

มีรายวิชาดังนี้

  1. AI Ecosystem in AI Management System and AI Governance (ระบบนิเวศ AI ในระบบบริหารจัดการและการกำกับดูแล AI)
  2. Trustworthiness in AI (ความน่าเชื่อถือใน AI)
  3. AI Risk Management (การจัดการความเสี่ยง AI)
  4. Governance Implications of the Use of AI by Organizations (การกำกับดูแลการใช้งาน AI ในองค์กร)
  5. AI Management System (ระบบบริหารจัดการ AI)

ทั้งนี้หากสนใจสามารถติดต่อคุณไชยวัฒน์ จิรกิจไพบูลย์ ผ่านทาง admin@datalentteam.co หรือโทร 097-113-5975

#AIGovernance #AIRegulation #EthicalAI #AICompliance #AIPolicy

#ResponsibleAI #AIStandards #AITransparency #AIAccountability #AIFramework #DataManagementAssessment #DataGovernance #DataQualityManagement #Training #AIGovernance #ITMMahidol #EGMU #Mahidol #AIGovernance