ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ( Artificial Intelligence) เป็นหนึ่งในวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันเป็นวงกว้างในหลาย ๆ ภาคส่วน ไม่เว้นแม้แต่ภาคการศึกษา ที่มีการนำเอา AI มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน อย่างไรก็ตาม AI การนำ AI มาใช้ได้สร้างผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญ สามารถจำแนกได้ ดังนี้

ผลกระทบเชิงบวก

  1. ช่วยกระชับเวลาประเมินและติดตามผลการเรียน : AI สามารถเข้ามาช่วยการวัดผลการเรียน คำนวนเกรดเฉลี่ย การตรวจงานหรือข้อสอบแบบเป็นตัวเลือก เป็นตัวช่วยที่ช่วยให้ลดเวลาในการทำงานและยังช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานได้อีกด้วย
  2. ช่วยปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียน : AI สามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ปรับเปลี่ยนตามความสามารถและความสนใจของผู้เรียนเรียนแต่ละคน เช่น การเรียนแบบ Adaptive Learning สามารถใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียน และปรับเปลี่ยนเนื้อหาและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับระดับความรู้และความสามารถของนักเรียนแต่ละคน
  3. ช่วยให้เข้าถึงทรัพยากรการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น : AI ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปได้อย่างง่ายดายและทั่วถึงมากขึ้น เช่น การใช้แอปพลิเคชัน AI ที่ช่วยในการค้นหาความรู้หรือการสอนในหัวข้อต่าง ๆ
  4. ช่วยสนับสนุนการสอนและการจัดการ : AI ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการห้องเรียนและสนับสนุนการสอนของครู เช่น ระบบจัดการการเรียนการสอน (LMS) ที่ใช้ AI ในการจัดระเบียบเนื้อหาและติดตามผลการเรียนของนักเรียน

ผลกระทบเชิงลบ

  1. ลดทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน : การพึ่งพา AI อาจทำให้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาของผู้เรียนลดลง เนื่องจาก AI อาจให้คำตอบที่สำเร็จรูปและทำให้การคิดเองของนักเรียนลดน้อยลง
  2. ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล : การใช้ AI ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนอาจทำให้เกิดปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล
  3. ความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา : การเข้าถึงเทคโนโลยี AI อาจไม่เท่าเทียมกันในแต่ละพื้นที่หรือกลุ่มประชากร ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการเรียนรู้และการเข้าถึงทรัพยากรการศึกษา
  4. ความเสี่ยงจากการพึ่งพาเทคโนโลยี : การพึ่งพา AI มากเกินไปอาจทำให้ครูและนักเรียนสูญเสียทักษะการสอนและการเรียนรู้ที่สำคัญ เช่น การสื่อสารที่เป็นมนุษย์หรือการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

จะเห็นได้ว่าการใช้ AI ในการศึกษาถือเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการปรับปรุงการเรียนการสอน แต่ก็ต้องมีการจัดการและควบคุมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น