Data Governance คืออะไร?
“ Data Governance” หรือ “ธรรมาภิบาลข้อมูล” คือการกำกับดูแล การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ และเกณฑ์การประเมินในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้การได้มาและนำข้อมูลไปใช้เป็นไปอย่างถูกต้อง ได้คุณภาพ มีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว และป้องกันไม่ให้มีการละเมิดดข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้น ซึ่งการจัดการข้อมูลถือเป็นหัวใจสำคัญของโลกในยุคปัจจุบัน Data Governance จึงเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่วางกรอบและทิศทางในการดูแลข้อมูลทั้งหมดขององค์กร ตั้งแต่การเก็บรวบรวม จัดระเบียบ วิเคราะห์ นำเสนอ แบ่งปัน ไปจนถึงการนำข้อมูลกลับมาใช้ใหม่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการองค์กร ในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการข้อมูลที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงการคิดค้นปัญญาประดิษฐ์ (AI )
Data Governance Framework
Goals : ประกอบไปด้วยข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน มีการกำหนดสิทธิและขออนุญาตเจ้าของข้อมูลในการเข้าถึงและใช้งานข้อมูล มีรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวไม่ให้เกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้น รวมไปถึงการบูรณาการข้อมูล การอธิบายชุดข้อมูล การประเมินความเสี่ยง และการประเมินระดับสถานะของข้อมูล
Methods : ประกอบไปด้วย การกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการข้อมูล กำหนดแนวทางการปฏิบัติ และการให้คำแนะนำ
People : ประกอบไปด้วย เจ้าของข้อมูล เจ้าหน้าที่บริกรข้อมูล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Processes : ประกอบไปด้วย การจัดการประเด็นปัญหา การจัดการความเปลี่ยนแปลง การประเมินจากตัวชี้วัด ไปจนถึงการติดตามและเฝ้าระวัง
Technology : ประกอบไปด้วย เครื่องมือการรวบรวมข้อมูล เครื่องมือการจัดทำบัญชีข้อมูล และเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล
Culture : ประกอบไปด้วย การทำงานร่วมกัน การสื่อสาร การแบ่งปันข้อมูล และกระบวนการนำข้อมูลกลับมาใช้ใหม่
Data Governance จึงไม่ใช่แค่เรื่องของ IT แต่การทำ Data Governance มีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการองค์กร ในแง่ของการยกระดับมูลค่าของข้อมูลสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการข้อมูลที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงการคิดค้นปัญญาประดิษฐ์ (AI) แม้ว่าการลงทุนใน Data Governance อาจต้องใช้เวลาและทรัพยากร แต่ผลตอบแทนที่ได้รับนั้นคุ้มค่าอย่างแน่นอน เพราะองค์กรที่ให้ความสำคัญกับ Data Governance จะสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ทันเวลา และเชื่อถือได้ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและการค้นพบรูปแบบใหม่ ๆ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้วยกระบวนการที่คล่องตัวและการทำงานร่วมกันที่ดีขึ้น สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความเชื่อมั่นจากลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ฉะนั้น Data Governance ไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโลกยุคปัจจุบัน
จัดทำโดย
นางสาว วิมลรัตน์ ศรีโยหะ